วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เครือข่ายการสื่อสาร


เครือข่ายการสื่อสาร



            เครือข่าย หรือที่มักเรียกติดปากว่า เน็ตเวิร์ก (network) ก็คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้ ตัวอย่างของเครือข่ายที่เราคุ้นเคย ได้แก่ เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เรียกว่า ช่องสัญญาณ (communication channel) 
           การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยผ่าน ช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

การสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) ก็คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อกันด้วยสายเคเบิล โดยมี Adapter Card และ Software ช่วยในการทำงานของระบบเครือข่าย

       ขนาดของเครือข่าย

       เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็ก ๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ ปัจจุบันเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดก็คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

       ล็อกออน

       ก่อนที่ผู้ใช้จะใช้เครือข่ายได้นั้น ผู้ใช้จะต้องป้อนชื่อบัญชีผู้ใช้ พร้อมกับรหัสผ่านลงไป เพื่อให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบว่าผู้ใช้คนนั้นมีสิทธิในการใช้เครือข่ายเสียก่อน ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ผู้ใช้คนนั้นจึงจะสามารถเข้าใช้งานเครือข่ายได้ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ล็อกออน (log on) หรือ ล็อกอิน (log in)



           เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ข้างเคียงต่าง ๆ มาเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายเคเบิ้ลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชุดข้อมูล ชุดคำสั่ง และข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ คอมพิวเตอร์และระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ข้างเคียงการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม


บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย คอมพิวเตอร์
2. การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์การสื่อสาร (communication) เกิดขึ้นในชีวิตประจาวันของ มนุษย์ ซึ่งอาจจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การสื่อสารใน ชีวิตประจาวัน จะมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป เช่น การสนทนา พูดคุยแบบประจันหน้า การสนทนาผ่านอุปกรณ์สื่อสาร การอ่านหนังสือ การรับส่งจดหมาย การฟังรายการวิทยุ การดูโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ การฟังการบรรยาย เป็นต้นการสื่อสาร มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ1. หน่วยส่งที่อยู่ต้นทาง (Source)2. สื่อกลางที่ใช้ส่งผ่านข้อมูล (Media)3. หน่วยรับที่อยู่ปลายทาง (Receiver)
3. บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย คอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารข้อมูลสมัยใหม่นี้ มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น โทรศัพท์ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูล จึงอยู่ในขอบเขตที่จากัด คือเฉพาะจุดที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยโทรศัพท์ และเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องในเวลาเดียวกันจึงมีมากขึ้นตาม ซึ่งการนาคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาติดต่อกัน จะเรียกว่า ระบบเครือข่าย (network system)
4. ในตอนเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูล (ประมาณปีพ.ศ.2513 – 2515) ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์มีราคาถูก เมื่อเทียบกันกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่บางอย่าง การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในสมัยนั้น จึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นผู้ใช้บริการแก่ผู้ใช้ปลายทางหลายคน โดยผู้ใช้สามารถ ติดต่อผ่านเครื่องปลายทางเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบ
5. ต่อมาในยุคของไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วในการทางานช้ากว่าเครื่องเมนเฟรม(คอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่) ประมาณ 10 เท่า แต่ไมโครคอมพิวเตอร์มีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมหลาย พันเท่า ทาให้มีการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง แทนที่จะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กับเครื่องปลายทางแบบกระจาย
6. ลักษณะของเครือข่ายจึงเริมจากจุดเล็ก ๆ ซึ่งอาจอยู่บน ่แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน และขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นทั้งระบบที่ทางานร่วมกันในห้องทางาน ในอาคาร ระหว่างอาคาร ระหว่างหน่วยงาน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ ข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์จะอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทาให้สามารถ สาเนา ส่งต่อ จัดพิมพ์ ได้ง่าย
7. วิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูลได้ถูกนามาประยุกต์ใช้ในระบบสานักงานที่เรียกว่า ระบบสานักงานอัตโนมัติ ซึงเป็นระบบที่ใช้โปรแกรม ่คอมพิวเตอร์ช่วยในการทางานด้านเอกสารทั่วไปแล้วส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อโอนย้ายแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ ระหว่างแผนกซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือระยะไกลกันคนละเมืองก็ได้ โดยการส่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทที่ถกผนวกเข้าหากัน ให้ เป็นระบบเดียวได้
8. บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย คือ การให้บริการข้อมูลของรัฐเช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลของสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตาราวิชาการ เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็ติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น โดยจะเป็นการติดต่อผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทาให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
9. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1.การจัดเก็บข้อมูลได้งายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บ ข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บได้ในแผ่นบันทึกที่มีความจุสูง แผ่นบันทึกหนึ่งแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1ล้านตัวอักษร สาหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลซ้ำใหม่
10. 2.ความถูกต้องของข้อมูล การส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นจะเป็นระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพ ของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้องโดยอาจให้ทาการส่งใหม่
11. 3.ความเร็วของการทางาน ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสงทาให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่สามารถทาได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทาให้ผู้ใช้สะดวก สบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทาให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทาได้ทัน
12. 4.ประหยัดต้นทุน การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสาเนาข้อมูล ทาให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่นซึ่งสามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
13. การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย เทคโนโลยีในด้านการสื่อสารมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทาให้มีการพัฒนาการสื่อสารเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทาให้สื่อสารได้ระยะไกลขึ้น และสะดวกรวดเร็วขึ้น เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร โทรเลข และอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารเองก็ได้รับการพัฒนาความสามารถมากขึ้น ทาให้การสื่อสารข้อมูลมีความมายครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงหรือวีดีทัศน์ ระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสารหรือไร้สายก็ได้


            วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด





องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ 


องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้



1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน



2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ





3. ช่องสัญญาณ (channel) หมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น


4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูป พลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้



5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึง การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน



6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ 


ตัวกลางการสื่อสาร


ช่องทางในการสื่อสารข้อมูล

  • แบบกำหนดเส้นทางได้
  • แบบกำหนดเส้นทางไม่ได้
ชนิดของตัวกลางที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ตัวกลางประเภทนี้คือ ตัวกลางที่มีลักษณะเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ตัวกลางประเภทสายส่งสัญญาณไฟฟ้า กับ ตัวกลางประเภทไร้สาย

ตัวกลางประเภทสายส่งสัญญาณไฟฟ้า มีดังนี้
  • สายคู่ตีเกลียว -สายคู่ตีเกลียวเป็นสัญญาณที่มีราคาถูกที่สุดและนิยมใช้มากที่สุด ภายในประกอบด้วยลวดทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มแล้วนำมาพันกันเป็นเกลียว                                                                                    
 

  • สายเคเบิลแกนร่วมหรือสายโคแอกเชีลเคเบิล   - หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า สายโคแอก เป็นสายสื่อสารที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง มีตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชึ้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นเกลียวฟั่นและขั้นคั่นระหว่างชั้น ด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวนมีลักษณะเดียวกับสายทั่วไป               
สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ 

  • สายเคเบิลใยแก้วนำแสง - เป็นตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปของแสง หลักการทั่วไปคือ การเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลหรือสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน แล้วส่งผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกส์ปยังปลายทาง

ตัวกลางประเภทไร้สาย มีดังนี้
- ระบบไมโครเวฟ (Microwave system)
- ระบบดาวเทียม (Satellite Systems)
คลื่นวิทยุ (Radio)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ                                                                                          
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
           เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย



เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
           เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน


 เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
           เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม



วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย

1.                        เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2.                        เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3.                        เพื่อลดเวลาการทำงาน
4.                        เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5.                        เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6.                         เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

   1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง
แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
   2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ
สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด
ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
   3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก
โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง
สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
   4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ
จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้      






อ้างอิง

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           จัดทำโดย
นางสาว กัณติมาภรณ์        ลูกเมือง
                                                                                                                                                       ชั้น ม.6/6   เลขที่  20